10 ข้อ ที่คนมักเข้าใจผิดในการแปลอังกฤษเป็นไทย
การรับแปลภาษาอังกฤษเป็นไทยอาจเป็นงานแปลที่เราเห็นได้บ่อยที่สุด นั่นก็เพราะเราต้องรับสารที่มาจากภาษาอังกฤษมากมายในชีวิตประจำวันทำให้เราต้องเจอกับงานรับแปลภาษาอังกฤษเป็นไทยอยู่เสมอ แต่หลายคนกลับมีเรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับการแปลอังกฤษเป็นไทยอยู่เป็นประจำ
การแปลภาษาเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์อย่างหนึ่ง โดยเฉพาะการแปลภาษาอังกฤษเป็นไทย ซึ่งเป็นทักษะที่คนไทยหลายคนต้องนำมาใช้งานเสมอตั้งแต่ในการเรียนไปจนถึงการทำงาน แต่เรากลับมีความเข้าใจผิดหลายอย่างในการแปลภาษาอังกฤษเป็นไทย ในวันนี้บทความของเราจึงขอนำเอา 10 ข้อที่คนมักเข้าใจผิดในการแปลภาษาอังกฤษเป็นไทยมาฝากทุกคนกันค่ะ
ใครที่อ่านแล้วพบว่ามีข้อไหนตรงกับเรา ก็ลองปรับเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับการแปลภาษาอังกฤษเป็นไทยกันใหม่ดูนะคะ!
- แปลจาก Google Translate ได้เลยโดยไม่ต้องขัดเกลา
เรียกได้ว่าเป็นเครื่องมือรับแปลภาษาที่หลายคนต้องเคยใช้ เพราะสามารถใช้งานได้สะดวกรวดเร็วแค่มีอินเทอร์เน็ต แต่ Google Translate นั้นก็มีข้อจำกัดอยู่ เราจึงไม่สามารถนำคำแปลที่ได้ไปใช้งานได้ทันที แต่ต้องนำมาผ่านการตรวจสอบและขัดเกลาคำแปลก่อนเสมอ
- การแปลภาษาสามารถแปลแบบตรงตัวได้ทันที
บางครั้งประโยคที่เราแปลอาจไม่ได้มีความหมายแบบตรงตัว เพราะภาษาอังกฤษก็มีสำนวน คำแสลง ไปจนถึงคำศัพท์แปลกๆ ไม่ต่างจากภาษาไทย ดังนั้นก่อนแปลเราจึงต้องมองบริบทโดยรอบก่อนเสมอ
- ไม่ต้องรู้แกรมม่าร์เยอะก็รับแปลภาษาได้
เป็นความคิดที่ผิดมหันต์เลยค่ะ เพราะแกรมม่าร์นี่แหละคือตัวช่วยให้เราสามารถแปลประโยคต่างๆ ออกมาได้ถูกต้องและตรงความหมายเดิมมากที่สุด
- แปลภาษาแค่เปิดดิกชันนารีก็แปลได้
ดิกชันนารีอาจช่วยให้เราหาความหมายของคำศัพท์ต่างๆ ได้ แต่ทักษะการเรียบเรียงประโยคและการนำคำเหล่านั้นมาจัดวางให้ถูกต้องก็ต้องฝึกฝนกันอยู่เสมอ
- แปลภาษาอังกฤษ-ไทยเป็นเรื่องง่าย ศึกษาครั้งเดียวใช้ได้ตลอดชีวิต
การแปลภาษาอังกฤษเป็นไทยนั้นอาจเริ่มต้นได้โดยใช้ความรู้จากในห้องเรียน แต่ยิ่งเราแปลงานหลายๆ แบบ เราก็ยิ่งต้องหมั่นศึกษาหาความรู้และพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ดังนั้นการแปลจึงไม่ใช่ทักษะที่เรียนรู้กันแค่ครั้งเดียวและใช้ไปตลอดชีวิตแน่นอนค่ะ
- ดูหนัง-ดูซีรี่ย์ ไม่เกี่ยวกับการแปลภาษา
ผิด! เพราะการดูหนังหรือดูซีรี่ย์แบบเสียงซาวน์แทร็คนี่ล่ะค่ะ ที่เข้ามาช่วยทำให้การแปลของเราดีขึ้น เพราะหนังและซีรี่ย์จะช่วยให้เรารู้ประโยคใหม่ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ยังเต็มไปด้วยสำนวน คำแสลงที่นำมาใช้ประโยชน์ในการแปลได้อีกด้วย
- ใช้ภาษาระดับเดียวกันได้ในงานแปลทุกชิ้น
ก่อนการแปลภาษาอังกฤษเป็นไทยนั้น เราต้องรู้ก่อนเสมอว่างานที่เรากำลังแปลเป็นงานเกี่ยวกับอะไร เช่น งานวิชาการ งานเอกสารราชการ งานเขียนนิยาย รายงานของนักศึกษา เป็นต้น เพราะงานแต่ละชิ้นก็มีระดับการใช้ภาษาและการใช้สำนวนภาษาแตกต่างกัน เราคงไม่สามารถใช้ภาษาพูดสนุกๆ มาแปลงานวิชาการได้ เช่นเดียวกันกับการแปลนิยายก็ควรใช้ภาษาที่อ่านแล้วไหลลื่น เห็นภาพและเข้าถึงอารมณ์ ไม่ควรใช้การบรรยายทื่อๆ มากเกินไป
- แปลประโยคเดียวโดดๆ ได้เลย ไม่ต้องดูบริบท
ถือเป็นหนึ่งในความเข้าใจผิดที่ร้ายแรงมาก เพราะการแปลภาษาอังกฤษเป็นไทยนั้นเราไม่สามารถแปลประโยคเดียวโดดๆ โดยไม่ดูบริบทได้แน่นอนค่ะ เพราะการดูบริบทโดยรอบจะทำให้เราสามารถเดาความหมายของประโยคและคำศัพท์ต่างๆ ได้ดีขึ้น
- ไม่ต้องเก่งภาษาไทยก็แปลภาษาได้
ความจริงแล้วทักษะภาษาไทยนั้นสำคัญมาก เพราะถึงแม้เราจะเก่งภาษาอังกฤษแค่ไหน ถ้าไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องได้ การแปลภาษาอังกฤษเป็นไทยของเราก็ไร้ความหมาย
- ไม่จำเป็นต้องท่องศัพท์ก็รับแปลภาษาได้
คลังคำศัพท์เปรียบเสมือนคลังอาวุธของนักแปลนะคะ ยิ่งเรารู้ศัพท์เยอะเราก็สามารถแปลภาษาได้เร็วขึ้น ช่วยลดเวลาในการเปิดดิกชันนารี ทำให้งานเสร็จเร็วขึ้น
ใครที่รู้ตัวว่ามีความเข้าใจผิดข้อไหนอยู่ล่ะก็ ต้องรีบแก้ไขและปรับความคิดด่วนๆ เพื่อปรับปรุงงานรับแปลภาษาของเราให้ดีขึ้นกันดีกว่านะคะ ส่วนใครที่ต้องการงานแปลที่ถูกต้องจากนักแปลมืออาชีพ โดยเฉพาะในงานวิชาการ เอกสารราชการ หรืองานแปลที่มีความเฉพาะทาง นักแปลจาก https://fastwork.co/translation ก็พร้อมให้บริการคุณด้วยเรทราคาหลากหลายที่เราเลือกได้ แถมยังมีรีวิวและตัวอย่างผลงานให้ดูก่อนตัดสินใจว่าจ้าง นอกจากนี้ยังมั่นใจในฝีมือการแปลด้วยการรับประกันฟรีแลนซ์ติดดาว ระบบการันตีฟรีแลนซ์มืออาชีพจากทางเว็บไซต์อีกด้วย ใครที่กำลังมองหานักแปลที่เชื่อมือได้ล่ะก็ ไม่ควรพลาดค่ะ